หน้าแรก | การตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา | วิธีการตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดา | ติดต่อเรา |
เราจะเก็บตัวอย่าง DNA โดยการป้ายเนื้อเยื่อด้านในกระพุ้งแก้มของผู้เข้ารับการตรวจด้วยก้านไม้พันสำลี การตรวจจะไม่มีเลือดและไม่รู้สึกเจ็บ (เรียกว่า "buccal cells" และ "buccal swabs") ตัวอย่าง DNA จะถูกนำไปตรวจพิสูจน์ที่ห้องปฏิบัติการเพื่อเปรียบเทียบ DNA ของผู้เข้ารับการตรวจ
ไม่มีใครที่จะมี DNA เหมือนกันทุกจุด (เว้นแต่แฝดเหมือนเท่านั้น)
DNA ของคนเราครึ่งหนึ่งมาจากบิดา และอีกครึ่งหนึ่งมาจากมารดา ในการตรวจ DNA พิสูจน์ความเป็นบิดานั้น เราจะเทียบผล DNA ของบุตรและบิดา เราสามารถบอกได้ว่าเป็นพ่อลูกกันหรือไม่ด้วยความแม่นยำถึง 99.99+ เปอร์เซ็นต์
DNA ระหว่างบุคคลสองคนนั้นจะมีเปอร์เซ็นต์ความเหมือนกัน 99.9% (และมนุษย์มี DNA เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เช่น ลิง ประมาณ 95%) ฉะนั้นเราต้องรู้อีก 0.1% เพื่อเปรียบเทียบ DNA และใน 0.1% นี้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อาทิเช่น สีผม สีตา สีผิว และอื่น ๆ อีกมากมาย
ใน 0.1% นี้บางส่วนของ DNA จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และส่วนอื่น ๆ จะมีความแตกต่างกันมาก เราต้องระมัดระวังว่าเราเปรียบเทียบส่วนไหนของ DNA
ห้องปฏิบัติการของเรานับว่าเป็นห้องปฏิบัติการที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลก เราได้สร้างฐานข้อมูลความแปรผันของ DNA ของมนุษย์และสถิติประชากรมนุษย์ขึ้นมาเองเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว ฐานข้อมูลเหล่านี้นำไปใช้ในการคำนวณเปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็นบิดา บางคนอาจจะบอกว่าผลการพิสูจน์ของตนเองมีความแม่นยำถึง 99.9999999% แต่ว่าจะเป็นจริงหรือเปล่า? เราสามารถแสดงรายละเอียดการคำนวณของเราให้คุณดู
โดยปกติผลการตรวจพิสูจน์จะมีค่าเท่ากับ 99.99+ หรือ 0 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะระบุได้ชัดเจนว่าเป็นบิดาหรือไม่
ในการตรวจ DNA ของแต่ละบุคคล เราตรวจให้อย่างน้อยที่สุด 20 ตำแหน่งมาตรฐาน ("loci" เป็นพหูพจน์ของ "locus") โดยเราจะวัดความยาวของ "allele" ของ DNA ในแต่ละ locus (ก่อนหน้านี้ห้องปฏิบัติการของเราตรวจให้อย่างน้อย 16 loci แต่ภายหลังจากที่เราได้ปรับปรุงเครื่องมือให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นเราได้เพิ่มให้เป็นอย่างน้อย 20 loci ในราคาเดิม แต่จะมีบางข้อความหรือบางกราฟิกบนเวปไซต์นี้ที่เขียนไว้ตั้งแต่ครั้งที่เราตรวจให้เพียง 16 loci)
เมื่อเราอ่านรายงานผลจากห้องปฏิบัติการจะเห็นว่าแต่ละคนจะมีตัวเลข 2 แถว แต่ละแถวจะมีค่าตัวเลขเท่ากับขนาดของ allele ของ DNA ในตำแหน่งของ "locus" นั้น ๆ ของเด็กจะมี 2 alleles ของผู้ที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นบิดา 2 alleles และอาจจะมีของมารดาอีก 2 alleles
ในตารางจะแสดงรายการ locus 16 แถว และในแต่ละ locus เราจะดู alleles ของเด็ก 2 ค่าก่อน ในการตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดา หนึ่งในค่า alleles ใน DNA จะต้องมาจากมารดาและอีกค่าหนึ่งต้องมาจากบิดา ตัวอย่างเช่น ถ้า alleles ของบุตรมี 2 ค่า คือ 14 และ 18 มารดาจะมีหนึ่งในค่า alleles ที่เหมือนกัน (ตัวอย่างเช่น มารดาอาจจะมี 5 และ 14) ถ้ามารดามี 14 เหมือนกันกับบุตร ฉะนั้นหนึ่งในสอง alleles ของบิดาน่าจะเป็น 18 ถ้าบิดาไม่มี 18 บิดาก็ต้องถูกคัดออก - - นั่นคือไม่ใช่บิดา (ดูข้อยกเว้นที่หาได้ยากในภายหลัง) แต่ถ้าบิดามี 18 ก็แสดงว่า locus นั้นมีค่าเหมือนกัน
ในการตรวจ loci 16 (แถว) เปรียบเทียบบุคคลใด ๆ สองคน (ตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบระหว่างคุณกับฉัน โดยที่เราไม่มีความเกี่ยวข้องกัน) อาจจะมี loci ที่เหมือนกันหลายตำแหน่ง แต่ที่แน่นอนคือจะมีหลาย loci ที่ไม่เหมือนกัน ในการตรวจ DNA ที่ชายคนนั้นมิใช่บิดาของเด็กก็เป็นธรรมดาที่จะมี loci 5 ตำแหน่งหรือมากกว่าที่ไม่เหมือนกันหรือยังมี 5 ตำแหน่งหรือมากกว่าที่เหมือนกันก็ได้ การที่มีค่า alleles เหมือนกันเพราะว่ามนุษย์ทุกคนมี DNA ที่เหมือนกันกว่า 99.9% และอีก 0.1% ที่เหลือจะแตกต่างกันไปตามบรรพบุรุษและครอบครัว
ในกรณีที่ชายคนนั้นเป็นบิดา โดยปกติจะเป็นไปไม่ได้ที่จะจับคู่ไม่ได้เลยทั้ง 16 locus (ดูข้อยกเว้นที่หาได้ยากในภายหลัง) เมื่อคำนวณออกมาแล้วความน่าจะเป็นบิดาโดยปกติจะมากกว่า 99%
ถ้าห้องปฏิบัติการแห่งหนึ่งบอกว่าผลการตรวจพิสูจน์เป็น 99.999999% และอีกแห่งหนึ่งบอกว่า 99.998% ก็ไม่ได้หมายความว่าแห่งแรกมีความแม่นยำมากกว่าแห่งที่สอง ห้องปฏิบัติการแห่งแรกอาจจะอ้างตัวเลขนั้นขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการตลาด หรือไม่ก็ข้อมูลสถิติและการคำนวณของทั้งสองแห่งอาจจะมีข้อผิดพลาด เราสามารถแสดงผลการตรวจพิสูจน์จากทั้งสองแห่งที่มีผลข้อมูลตรงกันทุกประการ - - โดยเปรียบเทียบ loci ทั้ง 16 ตำแหน่งเหมือนกันและได้ผลข้อมูลถูกต้องตรงกัน - - แต่รายงานของทั้งสองแห่งมีความน่าจะเป็น 2 เปอร์เซ็นต์ที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก
เราสามารถแสดงผลรายงานของห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ที่มีการเปรียบเทียบ loci ที่แตกต่างกัน ห้องปฏิบัติการสามารถเลือกว่าจะเปรียบเทียบ loci ตัวไหน
ในการตรวจ loci 16 ตำแหน่ง ห้องปฏิบัติการของเราจะเน้นที่ตำแหน่ง 15 ซึ่งมีความผันแปรสูงในหมู่มวลมนุษย์และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีทางด้านสถิติ เพื่อที่จะดูความเป็นไปได้ว่าเป็นบิดาสูงหรือมิฉะนั้นเพื่อที่จะคัดผู้ที่กล่าวอ้างว่าเป็นบิดาออกไปได้อย่างชัดเจน (loci ตำแหน่งที่ 16 บ่งบอกถึงเพศ แต่เดิมใช้เป็นเครื่องมือพิเศษในการตรวจสอบความผิดพลาดเพื่อช่วยตรวจสอบว่าซองตัวอย่างที่ห้องปฏิบัติการได้รับนั้นเขียนชื่อผิดคนหรือไม่) ถ้าหากคุณต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับ loci ตำแหน่งที่ 15 ที่แสดงไว้ในรายงานของห้องปฏิบัติการของเรา เรายินดีที่จะตอบคำถามและชี้แจงรายละเอียดให้คุณทราบ ในเพจนี้เราต้องการอธิบายให้เข้าใจง่ายและให้รู้ถึงวิธีปฏิบัติ
วิธีตรวจพิสูจน์มี 2 แบบ:
ในการตรวจแบบ 3 คน ในแต่ละ loci เราจะชี้ให้เห็นเป็นลำดับแรกว่า allele ไหนที่ได้รับมาจากมารดา ซึ่งหมายความว่าอีก allele ต้องมาจากบิดาซึ่งเราจะดูเป็นลำดับที่สอง
ส่วนในการตรวจแบบ 2 คน เราสามารถเปรียบเทียบ alleles ของบิดาเท่านั้น ฉะนั้นหนึ่งในสองของ alleles ต้องมาจากบิดา
ผลการตรวจพิสูจน์มีความแม่นยำอย่างยิ่งทั้งแบบ 3 คน และแบบ 2 คน ถ้าชายคนนั้นเป็นบิดาค่าความน่าจะเป็นจะน้อยกว่า 99.99% (มากกว่า 99%) ฉะนั้นถ้าชายคนนั้นมิใช่บิดาค่าความน่าจะเป็นจะเท่ากับ 0% การตรวจพิสูจน์มีความละเอียดพอที่จะมั่นใจได้ว่าความน่าจะเป็นถ้าไม่ใช่ 0% ก็อย่างน้อย 99.99%
ข้อดีของการตรวจแบบ 3 คน คือคุณสามารถเห็นได้ว่าเด็กมี DNA ตรงกับมารดาเพราะว่าจะมีค่าตรงกันกับมารดาทุกแถว ไม่ว่าจะมีค่าตรงกับบิดาหรือไม่ก็ตาม ข้อดีอีกข้อหนึ่งคือความน่าจะเป็นบิดาจะสูงกว่าถ้าชายคนนั้นเป็นบิดา ตัวอย่างเช่น 99.9999999%
เปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็นบิดาอาจจะสูงกว่า แต่จะมีข้อแตกต่างกันแล้วแต่กรณีซึ่งขึ้นอยู่กับ alleles ของแต่ละบุคคล
ในทางวิทยาศาสตร์ผลรายงานตรวจพิสูจน์จะไม่บอกว่า "คุณคือบิดา" โดยปกติจะบอกเพียงว่ามีความน่าจะเป็นบิดา 99.99...% หรืออาจจะบอกว่ามีความน่าจะเป็น 0% และนั่นก็คือการ "คัดออก" จากความน่าจะเป็นบิดา
การที่ชายคนหนึ่งจะถูกคัดออกจากความเป็นบิดา โดยปกติจะมีความแตกต่างกันอย่างน้อยที่สุด 5 จุด และบ่อยครั้งจะมีมากกว่านั้น โดยปกติจะมีอย่างน้อยที่สุด 5 จุดที่สามารถจับคู่กันได้อย่างชัดเจนเพราะว่ามนุษย์จะมี DNA เหมือนกันซึ่งหาได้ยากที่จะมีอย่างน้อยที่สุด 4 จุดที่จับคู่ผิด
อย่างไรก็ดีถ้าหากว่ามีเพียงจุดเดียวที่ต่างกัน เราจะไม่ด่วนสรุปว่าชายคนนั้นมิใช่บิดา บางครั้งมี "การกลายพันธุ์" การที่ค่าต่างกันจุดเดียวสามารถเกิดขึ้นได้ 1 ใน 3,000 คนโดยประมาณ ฉะนั้นถ้าหากมีค่าต่างกัน 2 จุด เราจะคัดชื่อบิดาคนนั้นออก ในกรณีเช่นนี้เราอาจจะทดสอบ loci เพิ่มเป็น 25 หรือ 36 ตำแหน่งแทนที่จะเป็น 16 ตำแหน่งมาตรฐาน เพื่อที่จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็นบิดาหรือไม่เช่นนั้นก็คัดชื่อผู้ที่อาจเป็นบิดาออกไป ถ้าใช้เพียง 16 ตำแหน่งแล้วมีความแตกต่าง 1 จุด ความน่าจะเป็นบิดาก็จะลดลง
จากคำอธิบายเบื้องต้น ตัวอย่างรายงานผลการตรวจพิสูจน์สำหรับ 3 คน จะมีลักษณะตามด้านล่างนี้ (สำหรับช่องว่างในรายงาน ให้ดูคำอธิบายด้านล่างภาพกราฟฟิกนี้)
วงกลมสีม่วงแสดงถึง allelles 4 ตัวแรกที่เหมือนกันกับมารดา
วงกลมสีเขียวแสดงถึง allelles 4 ตัวแรกที่เหมือนกันกับบิดา
คุณสามารถจับคู่ allelles ที่เหลืออีก 11 ตัว ตามตัวอย่าง
ถ้าหากไม่ได้ส่งตัวอย่าง DNA ของมารดามา กล่าวคือถ้าเป็นการตรวจพิสูจน์แบบ 2 คน จึงมีเพียง 2 แถว แทนที่จะเป็น 3 แถว นั่นคือจะไม่มีแถวของมารดา
"Amelogenin" ใน locus สุดท้าย แสดงถึงเพศของแต่ละบุคคล X = เพศหญิง XY = เพศชาย
ในเกือบทุกกรณี ในรายงานอาจจะมีบางช่องเว้นว่างเอาไว้ โดยแต่ละบุคคลมีผลรายงาน allele เพียงตัวเลขเดียวบนแถว loci แทนที่จะมีตัวเลข 2 ตัว ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า:
เป็นเรื่องปกติถ้าบุคคลหนึ่งจะมีตัวเลข allele สองตัวเหมือนกัน เช่น 12 และ 12 แทนที่จะมีตัวเลขแตกต่างกันสองตัว เช่น 13 และ 16 ถ้าตัวเลขเหมือนกัน เช่น 12 และ 12 ตามกฎของ American Accrediting Agency (AABB) ให้รายงานผลเพียงเลขเดียว (ถ้าในแถวเดียวกันมีตัวเลข alleles เหมือนกันจะเรียกว่า homozygote)
คำอธิบายเพิ่มเติม ผลรายงานจากห้องปฏิบัติการในแต่ละ loci มีตัวเลข alleles สองตัวซ้อนทับกัน ดังภาพที่แสดงไว้ด้านล่างขวามือ ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างในด้านล่างซ้ายมือคุณจะเห็นปลายยอดสองเส้นอย่างชัดเจน คือ 13 และ 16 อย่างไรก็ดีถ้าค่าของ allele 2 ตัวเหมือนกัน เส้นนั้นก็จะทับซ้อนกันซึ่งจะแสดงให้เห็นเพียงยอดเดียวดังเช่นตัวอย่างในด้านขวามือ สำหรับการอ่านผลในตัวอย่างด้านขวามือ วิธีแปลความที่ปลอดภัยคือ 12, 12 (homozygote)
อย่างไรก็ดีเพื่อให้การรายงานผลเป็นไปตามมาตรฐานของ AABB ซึ่งถูกกำหนดให้รายงานเพียงสิ่งที่เห็นเท่านั้น มิให้สันนิษฐานหรือตีความเอาเอง โดยมีแนวทางกำหนดไว้ว่า สำหรับ homozygote ที่เด่นชัด ให้แสดงรายการ phenotype ที่พบเห็นเท่านั้น ถ้าเห็นเพียงเส้น/แถบเดียวซึ่งแสดงขนาดของเส้นหรือตัวเลขซ้ำกันให้รายงานเพียงแค่ตัวเลขเดียว
ห้องปฏิบัติการอื่นซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามกฎของ AABB มักจะรายงานผลเป็น "12" และ "12" ซึ่งบุคคลทั่วไปอาจเข้าใจได้ง่ายขึ้น จริง ๆ แล้วในห้องปฏิบัติการจะไม่เห็นเลข 12 สองตัว แต่จะเห็นเพียงตัวเดียว
ทางด้านซ้ายของรายงานผลการพิสูจน์จะมีแถวที่เรียกว่า "PI" ซึ่งหมายถึง "ค่าดัชนีความเป็นบิดา" ในแต่ละ loci จะมีค่า PI ที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กและผู้อาจเป็นบิดามีขนาด allele ที่เหมือนกันคือ 22 แต่ 40% ของคนบนโลกนี้มีขนาด 22 เหมือนกัน ฉะนั้นค่า PI จะต่ำ ซึ่งหมายความว่าความน่าจะเป็นบิดาในตำแหน่ง locus ของ allele นั้นจะไม่สูง อย่างไรก็ตามถ้าขนาด allele ของบิดาและบุตรคือ 8 และมีคนเพียง 5% ที่มี allele ขนาด 8 เหมือนกัน ดังนั้นค่า PI ในตำแหน่ง locus ของ allele นั้นก็จะสูง ซึ่งหมายความว่าเปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็นบิดาจะสูง
หากคูณตัวเลข PI ทั้งหมดเข้าด้วยกันจะได้ผลลัพธ์ของ "ค่าดัชนีความเป็นบิดาที่ได้รวมกัน (CPI)" ที่ด้านล่าง เช่น 323,769 ซึ่งหมายความว่าถ้าเราตรวจ DNA ของผู้ชายทุกคน จะมีเพียงคนเดียวจาก323,769 คน ที่จะ "ผ่าน" การตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดาของเด็กคนนั้น และผู้ชายอีก 323,768 คน จะไม่ผ่าน
ถ้าผู้ชายเพียง 1 ใน 323,769 คนผ่านการพิสูจน์นี้ นั่นก็แสดงว่ามีเพียง 00.0004% ที่ผ่านการพิสูจน์ ฉะนั้นความน่าจะเป็นบิดาคือ 100.0000 - 00.0004 = 99.9996% ซึ่งผลลัพธ์จะแสดงไว้ด้านขวามือ
ตามความเป็นจริงถ้าคูณตัวเลข PI ทั้งหมดเข้าด้วยกันอาจจะได้ตัวเลข CPI ที่แตกต่างกันเล็กน้อยเพราะว่าค่า PI ที่แท้จริงคือ 1.548 แต่ในรายงานแสดงผลสรุปเป็นเพียงตัวเลขจำนวนเต็ม แม้ว่าตัวเลขที่คำนวณได้จะให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำกว่าเล็กน้อย
วัตถุประสงค์ทางการศาลและอื่น ๆ ส่วนใหญ่กำหนดให้ค่า CPI อย่างต่ำที่สุด 200 และเปอร์เซ็นต์ความน่าจะเป็นบิดาคือ 99.5 หรือ มากกว่า
การคำนวณ PI และ CPI ทุกค่าจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ ห้องปฏิบัติการบางแห่งแสดงแค่ผล CPI และความน่าจะเป็นบิดาโดยไม่แสดงวิธีคำนวณให้ แต่รายงานผลของเราจะแสดงให้เห็นตัวเลขแต่ละตัวและค่า PI ทุกตัว
มีลูกค้าบางคนไปตรวจกับห้องปฏิบัติการแห่งอื่นและนำผล การตรวจมาเปรียบเทียบกับของเรา และแสดงผลรายงานทั้งสองแห่งให้เราดู ห้องปฏิบัติการอื่นมักจะแสดงผลความน่าจะเป็นบิดาที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่า ด้วยเศษทศนิยม 9 หลาย ๆ ตัว เช่น 99. 999999% แทนที่จะเป็น 99.996% จะเห็นได้ชัดว่าที่ใดที่หนึ่งผิด ข้าพเจ้าเชื่อว่าที่ห้องปฏิบัติการอื่นแสดงความน่าจะเป็นสูงกว่าเพื่อต้องการแสดงความเชื่อถือบริษัทตัวเองดีกว่าเท่านั้น
เรามีห้องปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงเก่าแก่และมีขนาดใหญ่มากซึ่งได้ตรวจตัวอย่าง DNA มามากมายเป็นเวลาช้านาน เรามีฐานข้อมูลความถี่ของ allele ของประชากรมนุษย์มากมายมหาศาลเป็นพื้นฐานในการคำนวณ
ถ้าหากคุณสนใจที่จะทราบเกี่ยวกับกระบวนการตรวจ DNA ของห้องปฏิบัติการเรา คุณสามารถอ่านได้จากหมวดสุดท้ายนี้ แต่ทว่าไม่จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับขั้นตอนผลการตรวจพิสูจน์
เมื่อได้รับตัวอย่าง DNA และทำการทดสอบด้วยหลอดทดลองแล้ว ขั้นตอนแรกคือการแยกทุกอย่างในเซลล์ออกเหลือไว้เพียง DNA
หลังจากนั้นเซลล์เล็ก ๆ ของ DNA จะถูกจำลองขึ้นมาโดยกระบวนการที่เรียกว่า "ปฏิกิริยาลูกโซ่ โพลีเมอเรส" (Polymerase Chain Reaction, PCR) โดยธรรมชาติเซลล์จะเลียนแบบ DNA ของตัวเองเมื่อร่างกายเติบโตขึ้นและระหว่างการดูแลรักษาสภาพร่างกาย และนี่คือพื้นฐานเดียวกันกับที่เราจำลองขึ้นในหลอดทดลอง (เมื่อเซลล์แบ่งตัวในร่างกาย เอ็นไซม์ที่เรียกว่า polymerases ก็ทำการคัดลอกเซลล์ ซึ่งเราก็ทำเช่นเดียวกันในหลอดทดลอง)
วงจรของ "การขยายปริมาณ DNA" นี้สามารถทำซ้ำได้หลายครั้งตามความจำเป็นเพื่อให้ได้สาร DNA จากตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำเพียงพอจากห้องปฏิบัติการ
เราพยายามที่จะสร้างเพจนี้ขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจของลูกค้าส่วนใหญ่ของเราในประเทศไทย ถ้าหากมีสิ่งใดที่ท่านไม่เข้าใจหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมสามารถสอบถามมาได้
การคำนวณค่าความน่าจะเป็นบิดา
Thailand-DNA-Test.com > การตรวจ DNA พิสูจน์ความเป็นบิดาทำอย่างไร
SiteMap:
หน้าแรก
การตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา
วิธีการตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดา
กรณีพื้นที่ห่างไกล
เก็บดีเอ็นเอภายในแก้ม ไม่มีเลือด ไม่มีอาการเจ็บ
ติดต่อเรา
Copyright by Lucky Lion Pride Co., Ltd., 2010-2024, All Rights Reserved.
หน้าแรก
การตรวจ-DNA-เพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา
วิธีการตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดา
ติดต่อเรา